ธาตุหลักทั้ง 4 (ไฟ –คฑา, ดิน-เหรียญ, ลม-ดาบ, น้ำ-ถ้วย)
เป็นหลักการตามปรัชญาโบราณในหลายวัฒนธรรม ใช้ในการอธิบายลักษณะพื้นฐานของสิ่งต่างๆในธรรมชาติ เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ผ่านเข้าสู่ยุคกลาง และเข้าสู่ยุคเรอเนสซองซ์ของยุโรป ความรู้นี้เป็นพื้นฐานของความเชื่อและวัฒนธรรมของยุโรปอย่างมาก และในขณะเดียวกัน ทางตะวันออกอย่างอินเดีย และจีนก็มีแนวคิดนี้เช่นกันตั้งแต่สมัยโบราณ และกลายมาเป็นพื้นฐานความรู้ของลัทธิเต๋า และศาสนาพุทธด้วย
ดิน
ตำราตะวันตก
จากการตีความตามตำราเวทย์ของยุโรป ดินเป็นธาตุสถานะแข็ง สัญลักษณ์แห่งการก่อตั้ง เป็นธาตุเริ่มต้นในการกำเนิดทุกสิ่ง เสมือนแม่ผู้ให้ทั้งอาหาร ที่อยู่ และสิ่งต่างๆ แก่สิ่งมีชีวิตทั้งปวง เป็นฝ่ายที่รับรอง คอบโอบอุ้มสิ่งต่างๆ สามารถสื่อถึง ความมั่นคง พละกำลัง ความอุดมสมบูรณ์และการเจริญเติบโตทั้งด้านการงานและการเงินด้วย
สัญลักษณ์ของดิน เป็น สามเหลี่ยมคว่ำมีขีดทับกลางสีเขียว ซึ่งเป็นสีของพืชที่ปกคลุมพื้นดิน (หรือสี่เหลี่ยมสีเหลือง แล้วแต่ตำรา) ทิศของธาตุดินคือทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศของฤดูหนาว เวลาค่ำ และวัยอาวุโส ดินมีคุณสมบัติแห้ง (เหมือนธาตุไฟ) และเย็น (เหมือนธาตุน้ำ) ธาตุดินจึงกลายเป็นธาตุขั้วตรงข้ามของธาตุลม พลังแห่งดินถูกส่งผ่านต้นไม้ ก้อนหิน และเหล่าสรรพสัตว์ซึ่งมีความใกล้ชิดกับธาตุดินมาก
ทางด้านโหราศาสตร์ ธาตุดินกลายเป็นธาตุประจำ ราศีพฤษภ ราศีกันย์ และ ราศีมังกร ซึ่งมีลักษณะนิสัยที่มั่นคง ยึดติดกับสิ่งต่างๆ ถูกตีความลักษณะนิสัยเหล่านั้นให้เหมือนกับดิน ดินเป็นธาตุเพศหญิง ดังนั้นการตีความลักษณะนิสัยของ 3 ราศีดังกล่าวจึงเป็นลักษณะนิสัยเพศหญิง เช่นเดียวกับไพ่ทาโร่ต์ ซึ่งใช้ดินเป็นธาตุหลักในการอธิบาย ตีความไพ่ด้วย สัญลักษณ์เหรียญหรือตราวงกลม บนไพ่ทาโร่ต์ เป็นตัวแทนของธาตุดิน
ตำราตะวันออก
ทางพุทธศาสนา ดิน ถูกใช้สื่อเป็นตัวแทนในการอธิบาย เรื่องขันธ์ 5 ว่ากายของเราในส่วนที่กล้ามเนื้อ กระดูก และสิ่งอื่นๆที่เป็นของแข็ง ซึ่งไม่มีความคงทนถาวร ทุกกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ สำหรับชาวฮินดูก็มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องดินเช่นกัน เทพประจำธาตุดินคือ ภูมิเทวี หรือพระแม่ธรณี
ตามตำราจีน ธาตุดินเป็น 1 ใน 5 ธาตุหลักของจีน มีสีประจำเป็นสีเหลือง กลายเป็นธาตุกลางของธาตุอื่นๆ ประจำจุดศูนย์กลางแห่งสวรรค์ซึ่งเป็นที่ของมังกรทองฮวงหลงตามตำรา อสูรปกครองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ซึ่งเป็นธาตุที่สนับสนุนธาตุโลหะ เอาชนะธาตุน้ำได้ กำเนิดจากธาตุไฟ และพ่ายแพ้ต่อธาตุไม้ ซึ่งทางโหราศาสตร์ของจีน ก็นำเรื่องธาตุมาใช้เช่นเดียวกับทางตะวันตก ดินเป็นตัวแทนของดาวเสาร์ ดังนั้นวันเสาร์ในภาษาญี่ปุ่นและภาษาเกาหลี จึงเป็นวันของดิน หรือ โดะโยบิ 土曜日:どようび และ โทโยอิล 토요일 (โดยที่ โดะ กับ โท มีความหมายว่าดิน) ในตำราทางการแพทย์ของจีน ธาตุดินเกี่ยวข้องรสหวาน การดมกลิ่น นิ้วชี้ โดยมีอวัยวะภายในหยิน คือ ม้าม ตับอ่อน และหยางคือ ท้อง ตามตำราของญี่ปุ่นธาตุดินก็มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับตำราตะวันตก และ ความรู้เกี่ยวกับขันธ์ 5 ด้วย
น้ำ
ตำราตะวันตก
น้ำเป็นธาตุมีสถานะเหลว และเป็นธาตุที่สำคัญอีกธาตุหนึ่งที่ไม่แพ้กับธาตุดิน สิ่งมีชีวิตจะขาดน้ำไม่ได้ น้ำเป็นสิ่งที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับทุกสิ่ง ธาตุน้ำกลายเป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอารมณ์รัก น้ำยังกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการรักษา การชำระล้างสิ่งชั่วร้ายและสิ่งสกปรกด้วย
สัญลักษณ์ของน้ำ เป็น สามเหลี่ยมคว่ำสีฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งของน้ำ น้ำเป็นธาตุประจำทิศตะวันตก ทิศแห่งการเพาะปลูกและการผลิต จึงเชื่อมโยงกับฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรชาวยุโรปเก็บเกี่ยวผลิตผลต่างๆ นอกจากนั้นทิศนี้ยังเป็นทิศแห่งเวลาบ่าย และช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์ (โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์) ด้วย น้ำมีคุณสมบัติชื้น (เหมือนธาตุลม) และเย็น (เหมือนธาตุดิน) ธาตุน้ำจึงตรงข้ามกับธาตุไฟ พลังแห่งน้ำถูกส่งผ่านสายน้ำและเปลือกหอย
ทางด้านโหราศาสตร์ ราศีกรกฎ ราศีพิจิก และ ราศีมีน เป็นราศีธาตุน้ำ ซึ่งเป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหว เปลี่ยนแปลงง่าย คล้ายลักษณะการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของสายน้ำ นอกจากนั้นน้ำเป็นธาตุเพศหญิง เช่นเดียวกับธาตุดินด้วย 3 ราศีดังกล่าวจึงมีลักษณะนิสัยคล้ายเพศหญิง สำหรับไพ่ทาโร่ต์ ถ้วยสีทองถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์แทนธาตุน้ำอีกด้วย
ตำราตะวันออก
น้ำเป็น 1 ในธาตุที่ใช้ในเรื่องขันธ์ 5 ของธาตุพุทธศาสนาเช่นกัน น้ำสื่อถึงของเหลวทุกชนิดในร่างกาย ตั้งแต่เลือดไปจนถึงน้ำย่อย ตามความเชื่อของชาวฮินดู น้ำเป็น 1 ในธาตุหลักเช่นเดียวกัน
ตามตำราจีน ธาตุน้ำเป็น 1 ใน 5 ธาตุหลักของจีน สีประจำธาตุเป็นสีดำ และเกี่ยวข้องกับทิศเหนือซึ่งเป็นทิศของ เต่าเฉวียนอู่ 1 อสูรในอสูรปกครองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 น้ำเป็นธาตุสนับสนุนธาตุไม้ เอาชนะธาตุไฟ กำเนิดจากธาตุโลหะ และพ่ายแพ้ต่อธาตุดิน และเช่นเดียวกันธาตุน้ำถูกใช้เป็นลักษณะนิสัยบ่งบอกตามโหราศาสตร์ขงอชาวจีนด้วย น้ำเป็นสัญลักษณ์ของดาวพุธ ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นและเกาหลี วันพุธแปลว่าวันแห่งน้ำ หรือ 水曜日:すいようび ซุยโยบิ และ 수요일 ซูโยอิล (ซึ่งคำว่า ซุย และ ซู แปลว่าน้ำ) น้ำเกี่ยวข้องกับรสเค็ม การรับรสชาติ นิ้วก้อย อวัยวะภายในหยินเป็นไต และแบบหยางเป็นกระเพาะปัสสาวะ ตามตำราแพทย์ของจีน ตามตำราของญี่ปุ่น น้ำ เป็นธาตุหลักสำคัญด้วยซึ่งมีความคล้ายกับตำราทางตะวันตก แต่เพิ่มลักษณะพิเศษตรงที่ ธาตุน้ำของญี่ปุ่นนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับแม่เหล็กด้วย
ลม
ตำราตะวันตก
ลมเป็นธาตุที่สถานะเป็นแก๊ส ลมหรือากาศ เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์และสัตว์หลายๆชนิด อากาศเป็นสิ่งที่สำคัญถ้าขาดอากาศก็ถือว่าไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ลมเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหว ความรู้ การสื่อสาร ดังนั้น เสียงจึงเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่ถูกส่งผ่านธาตุลม รวมถึงกลิ่นอีกด้วย
ลมมีสัญลักษณ์เป็นรูป สามเหลี่ยมหงายมีเส้นขีดทับตรงกลาง สีเหลือง เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นลมได้ สีที่ใช้คือสีเหลือง ซึ่งเป็นสีท้องฟ้าและแสงแดด โดยที่ทิศประจำธาตุลมคือ ทิศตะวันออก ทิศแห่งการเริ่มต้น เชื่อมโยงกับฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งสรรพสิ่งต่างๆฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ต้นไม้เริ่มผลิดอกและใบ สัตว์ทั้งหลายตื่นจากการหลับใหลในช่วงจำศีลในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นธาตุลมจึงเป็นตัวแทนเวลาเช้า และช่วงอายุวัยเด็กด้วย ลมมีคุณสมบัติชื้น (เหมือนธาตุน้ำ) และร้อน (เหมือนธาตุไฟ) ลมจึงตรงข้ามกับธาตุดินโดยสิ้นเชิง พลังของลมถูกส่งผ่านเสียง กลิ่น หรือแม้แต่ขนนกสัตว์ตัวแทนแห่งสายลม
ราศีเมถุน ราศีตุลย์ และ ราศีกุมภ์ เป็นราศีธาตุลมตามตำราโหราศาสตร์ ตามลักษณะนิสัยของราศีดังกล่าว เป็นคนที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นคนที่ฉลาดด้วย นอกจากนั้นลมเป็นธาตุเพศชาย ซึ่งสื่อถึงลักษณะนิสัยของ 3 ราศีข้างต้นด้วย สำหรับไพ่ทาโร่ต์ ดาบกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำธาตุลม
ตำราตะวันออก
ทางพุทธศาสนา ลมเป็น 1 ใน 4 ของร่างกายตามนิยามเรื่อง กาย ของขันธ์ 5 คือลมของร่างกายนั้น คือลมหายใจเข้าออกนั่นเอง รวมทั้งทางด้านตำราของฮินดูลมก็เป็นเทพสำคัญอีกองค์หนึ่ง ซึ่งรู้จักกันในนามของ วายุ หรือ พระพาย ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดทหารเอกองค์หนึ่งของพระราม คือ หนุมาน นั่นเอง
ถึงแม้ตามตำราจีนจะไม่ได้ถือว่า ลม เป็น 1 ใน 5 ธาตุหลักของจีนก็ตาม แต่ตามเทพนิยายของจีนก็มีการพูดถึงเรื่องลมอยู่บ้าง โดยให้มังกรเป็นตัวแทนให้ธาตุลมด้วย เป็นราชาแห่งดิน ฟ้า อากาศ คอยควบคุมสภาพอากาศบนโลก แต่ตามตำราของญี่ปุ่นแล้ว นอกเหนือจาก ดิน และน้ำ แล้ว ลมกลับเป็น 1 ใน 5 ธาตุหลักซึ่งนอกจากลมจะเป็นตัวแทนของสิ่งต่างๆ ที่ถูกพูดมาตามตำราตะวันตก รวมถึงมีแนวคิดตรงกับเรื่องขันธ์ 5 ของพุทธศาสนาแล้ว ชาวญี่ปุ่นยังถือว่าลมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศด้วยดังนั้น ลมจึงมีความเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าเช่นกัน
ไฟ
ตำราตะวันตก
ไฟ เป็นธาตุเดียวที่ไม่ใช่สสาร แต่มีสถานะเป็นพลังงาน เป็นทั้งผู้สร้างสรรค์และเป็นทั้งผู้ทำลาย เนื่องจากไฟสามารถสร้างแสงสว่างในยามค่ำคืน เป็นที่พึ่งพิงยามหนาว แต่ก็สามารถเผาผลาญทำลายได้เช่นกัน ไฟเป็นตัวแทนแห่งแรงขับเคลื่อน พลังงาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นเสมือนสิ่งที่กระตุ้นให้ทุกสิ่งมีชีวิตชีวา พลังแห่งธาตุไฟส่งผ่านแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และความร้อน ความอบอุ่นๆอื่น หรือแม้แต่ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ด้วย
สัญลักษณ์ของไฟ เป็น สามเหลี่ยมหงายสีแดง ซึ่งเป็นสีเพลิงนั่นเอง ทิศของธาตุไฟคือทิศใต้ ซึ่งตามตำรานั้นทิศใต้เป็นทิศของความร้อน ซึ่งเกี่ยวโยงกับฤดูร้อนและเวลาเที่ยง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร้อนมากที่สุด รวมถึงสื่อถึงช่วงอายุวัยรุ่นซึ่งมีพลังงานและแรงขับเคลื่อนมากพอที่จะสร้างสรรค์หรือแม้แต่ทำลายสิ่งต่างๆได้ ธาตุไฟมีคุณสมบัติแห้ง (เหมือนธาตุดิน) และร้อน (เหมือนธาตุลม) ดังนั้นธาตุไฟจึงเป็นขั้วตรงข้ามกับธาตุน้ำ
ธาตุไฟเป็นธาตุประจำ ราศีเมษ ราศีสิงห์ และ ราศีธนู ซึ่งมีลักษณะนิสัยเป็นผู้ริเริ่ม สร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ อารมณ์เร่าร้อน รุนแรง นอกจากนั้น 3 ราศีดังกล่าวยังมีลักษณะนิสัยเหมือนเพศชาย เพราะเนื่องจากธาตุไฟเป็นธาตุเพศชายด้วย สำหรับไพ่ทาโร่ต์ สัญลักษณ์คฑา(ไม้)เป็นตัวแทนของธาตุไฟด้วย
ตำราตะวันออก
ไฟ เป็น 1 ในธาตุของร่างกายตามความคิดเรื่องขันธ์ 5 ของพุทธศาสนา โดยสื่อถึงพลังงานความร้อนที่มีในร่างกายของมนุษย์นั่นเอง ตามตำราฮินดูไฟก็เป็น 1 ในธาตุหลักเช่นกัน
ธาตุไฟเป็น 1 ใน 5 ธาตุหลักตามตำราจีน โดยที่มีสีประจำเป็นสีแดง ในมี จูเชว่ 1 ในอสูรปกครองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 เป็นอสูรประจำธาตุนี้ด้วย ธาตุไฟสนับสนุนธาตุดิน เอาชนะธาตุโลหะ กำเนิดจากธาตุไม้ และพ่ายแพ้ต่อธาตุน้ำ ไฟถูกใช้ในด้านโหราศาสตร์ตามตำราจีนเช่นกัน ไฟเป็นธาตุประจำดาวอังคาร วันอังคารของญี่ปุ่นและเกาหลีจึงมีความหมายว่า วันของไฟ หรือ คะโยบิ 火曜日:かようび และ ฮวะโยอิล 화요일 (คะ และ ฮวะ มีความหมายว่า ไฟ) ในตำราทางการแพทย์ของจีน ธาตุไฟเกี่ยวข้องรสขม การรับเสียง นิ้วกลาง โดยมีอวัยวะภายในหยิน คือ หัวใจและหยางคือ ลำไส้เล็ก ตามตำราของญี่ปุ่นธาตุไฟมีคุณสมบัติเหมือนกับตำราตะวันตก และ ความรู้เกี่ยวกับขันธ์ 5 เช่นกัน
ราศีในแต่ละราศีนั้นจะเป็นตัวแทนของแต่ละฤดูกาล และจะมีคุณภาพของการปลดปล่อยพลังงานในธรรมชาติแตกต่างกันไป แม้ว่าราศีเหล่านั้นจะอยู่ในฤดูกาลเดียวกันก็ตามคุณะ อันเป็นการปลดปล่อยพลังงานที่แตกต่างกันในฤดูกาล จึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.จรราศี ได้แก่ ราศี เมษ กรกฎ ตุลย์ มังกร ซึ่งแสดงออกจากพลังงานที่มากเกินรุนแรง มีความดิ้นรนทะเยอทะยาน เอาดีด้วย การแสดงออก การเคลื่อนไหวแบบ แรงดัน การระเบิด ทุ่มสุดตัว
2.สถิรราศี ได้แก่ ราศี พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์ ซึ่งแสดงออกจากพลังงานที่สมดุลและเต็มพอดี แน่วแน่ พินิจพิจารณา และใช้เวลา เอาดีด้วยการกักตุน คงที่ สม่ำเสมอ
3. อุภยราศี ได้แก่ ราศี มิถุน กันย์ ธนู และมีน ซึ่งแสดงออกจากพลังงานที่มีความอ่อนตัว โอนอ่อน โลเล แบ่งรับแบ่งสู้ ดูทีท่า ใช้เวลาแก้ปัญหา
ธาตุ (Element ) ในทางการพยากรณ์ไพ่ยิปซี นั้น ระบบธาตุที่นิยมใช้มาก คือ ธาตุสี่อันประกอบไปด้วย
1. ธาตุไฟ = คฑา คือ การคุกคาม สร้างสรรค์ ผู้นำ ว่องไว ฉลาด ราศี เมษ สิงห์ ธนู
2. ธาตุดิน = เหรียญ คือ การมั่นคง หนักแน่น จริงจัง สงบเสงี่ยม เห็นการณ์ไกล ราศี พฤษภ กันย์ มังกร
3. ธาตุลม = ดาบ คือ การประสาน คล่องตัว ชอบเรียนรู้ รวดเร็ว ปรับตนเข้ากับสถานการณ์ได้ดี ราศี มิถุน ตุลย์ กุมภ์
4. ธาตุน้ำ = ถ้วย คือ ปรับตัว ลึกซึ้ง ช่างคิดฝัน ความรู้สึกไว ราศี กรกฎ พิจิก และมีน
เริ่มจาก ธาตุ ในแต่ละ จักรราศี ต้องอาศัยหลักธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันสัญลักษณ์ ของธาตุ 3 ประเภท คือ Cardinal Signs - Fixed Sighs - Mutable Signs
1. Cardinal Signs ไฟ น้ำ ลม ดิน ( อาการเคลื่อนไหว ) หมายถึง แม่ธาตุทั้งสี่แรก จรราศี 1-4-7-10 เมษ กรกฎ ตุลย์ มกร
ไฟ หมายถึง ใจป้ำ กล้าได้กล้าเสีย กระตือรือร้นจนออกนอกหน้า จะทำอะไรใจจอใจจ่อ มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวไม่เลิก
ดิน หมายถึง สนใจ กระตือรือร้น แต่ก็ยังใช้ความคิดบ้าง
ลม หมายถึง อารมณ์ฉุนเฉียว เอาแต่ใจเกินไป
น้ำ หมายถึง ความรู้สึกรุนแรง ท่าทางวางอำนาจเต็มที่
2. Fixed Signs ไฟ น้ำ ลม ดิน (บอกเวลา กำหนดเวลา ) แม่ธาตุทั้งสี่ รอง
สถิรราศี 2-5-8-11 พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์
ไฟ หมายถึง เด็ดเดี่ยว เอาจริงเอาจัง แสดงพละกำลัง
ดิน หมายถึง ตั้งใจจะทำต้องให้ได้ ไม่รอรีอีก เว้นไว้แต่จะพบว่าสิ่งนั้นจะทำไม่ได้จริง และมีแต่จะต้องเปลี่ยนใหม่เท่านั้น ติดรอบคอบ
ลม หมายถึง ไม่เปลี่ยนความคิด ไม่เปลี่ยนใจ ไม่เปลี่ยนความประสงค์
น้ำ หมายถึง อารมณ์ยึดมั่น แน่วแน่ เที่ยงตรง
3. Mutable Sings (ให้ช่วง ให้ระยะ ให้แวดวง) แม่ธาตุทั้ง 4 ช่วงสุดท้าย
อุภยราศี 3-6-9-12 มิถุน กันย์ ธนู มีน
ไฟ หมายถึง กระตือรือร้นเอาจริงเอาจังแต่แรก แต่แล้วก็เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นเสียได้
ดิน หมายถึง มีความคิดอ่านดี แนะนำให้ได้ประโยชน์ในการงาน และก็ใช้การได้ด้วย
ลม หมายถึง มีจิตใจ สามารถทำงานจนลุล่วงไปด้วยความสามารถได้ ทั้งการให้คำแนะนำและกระทำจริง
น้ำ หมายถึง มีอารมณ์จะดำเนินงาน มีอารมณ์คิด อารมณ์ปฏิบัติ จำแนกแยกแยะสิ่งถูกสิ่งผิด
ดังนั้นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็จะกระจายตามราศีต่างๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ
ปี | และปี | ธาตุ |
จำแนกธาตุตามเดือน
|
ชวด (หนู) |
กุน
(หมู) |
น้ำ
|
เดือน
๕,๖, ๗ ธาตุน้ำในตระพัง เดือน ๘, ๙, ๑๐ ธาตุน้ำคนอาศัย เดือน ๑๑, ๑๒, ๑ ธาตุน้ำในบ่อ เดือน ๒, ๓, ๔ ธาตุน้ำฝน |
ฉลู
(วัว) |
จอ
(สุนัข) |
ดิน
|
เดือน
๕,๖, ๗ ธาตุดินสุก เดือน ๘, ๙, ๑๐ ธาตุดินดี เดือน ๑๑, ๑๒, ๑ ธาตุดินจอมปลวก เดือน ๒, ๓, ๔ ธาตุดินทำพระ |
ขาล
(เสือ) |
เถาะ
(กระต่าย) |
ไม้
|
เดือน
๕,๖, ๗ ธาตุไม้ผุ เดือน ๘, ๙, ๑๐ ธาตุไม้แก่น เดือน ๑๑, ๑๒, ๑ ธาตุไม้หอม เดือน ๒, ๓, ๔ ธาตุไม้บนเขา |
มะโรง
(งูใหญ่) |
มะแม
(แพะ) |
ทอง
|
เดือน
๕,๖, ๗ ธาตุทองฟ้า เดือน ๘, ๙, ๑๐ ธาตุทองมีราคี เดือน ๑๑, ๑๒, ๑ ธาตุทองจ่าย เดือน ๒, ๓, ๔ ธาตุทองนพคุณ |
มะเส็ง
(งูเล็ก) |
มะเมีย
(ม้า) |
ไฟ
|
เดือน
๕,๖, ๗ ธาตุไฟไหม้ป่า เดือน ๘, ๙, ๑๐ ธาตุไฟคนสุม เดือน ๑๑, ๑๒, ๑ ธาตุไฟในหิน เดือน ๒, ๓, ๔ ธาตุไฟในแก้ว |
วอก
(ลิง) |
ระกา
(ไก่) |
เหล็ก
|
เดือน
๕,๖, ๗ ธาตุเหล็กกล้า เดือน ๘, ๙, ๑๐ ธาตุเหล็กอ่อน เดือน ๑๑, ๑๒, ๑ ธาตุเหล็กดี เดือน ๒, ๓, ๔ ธาตุเหล็กหลุม |
ถ้าผู้ชาย ธาตุ |
อยู่กับ |
ผู้หญิง ธาตุ |
คำทำนาย |
น้ำ | น้ำ | อยู่ด้วยกันจะมีความสุขทั้งกายและใจ | |
น้ำ | ดิน | อยู่ด้วยกันจะรักกันมาก เอื้ออาทรเข้าใจกันเป็นอย่างดี | |
น้ำ | ไม้ | เป็นคู่ที่เหมาะสมกันยิ่งนัก จะบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง | |
น้ำ | ดิน | เป็นคู่ที่เหมาะสมกันยิ่งนัก จะมีบุตรด้วยกันและจะอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า | |
ดิน | น้ำ | อยู่ด้วยกันปี ประมาณหนึ่งจะพอตั้งตัวได้ และจะมีผู้อุปถัมภ์คอยช่วยเหลือ | |
ดิน | ไม้ | อยู่ด้วยกันดี ไม่ค่อยมีเรื่องให้ทะเลาะกัน ปรองดองกันดี | |
ดิน | ไฟ | ตอนแรกจะลำบากหน่อย แต่จะได้ดีเมื่อปลายมือ และจะมีทรัพย์มาก | |
ดิน | เหล็ก | อยู่ด้วยกันจะมีบุตรมากกว่า 2 คน จะได้พึ่งพาอาศัยบุตร | |
ไม้ | ไม้ | อยู่ด้วยกันลาภผลพอประมาณ | |
ไม้ | น้ำ | อยู่ด้วยกันดีนัก เป็นสุข จะมีทรัพย์มาก แต่ว่าเลี้ยงลูกยากหน่อย | |
ไม้ | ดิน | รักกันดี แต่มีเหตุให้ต้องห่างกัน อีกคนหนึ่งอาจไปอยู่ต่างถิ่น | |
ไม้ | ไฟ | อยู่ด้วยกันแล้วดีนัก และจะมีบุตรชายก่อน แต่มักจะเป็นกำพร้า | |
ไม้ | เหล็ก | จะอยู่ด้วยกันไม่นานนัก เพราะจะมีเหตุให้ต้องผิดใจกัน ไม่เข้าใจกัน | |
ไฟ | ไฟ | เป็นคู่ที่อาภัพมาก ไม่ค่อยดีนัก มีแต่เรื่องไม่เข้าใจกันอยู่ตลอด | |
ไฟ | น้ำ | ตอนแรกไม่ค่อยดีนัก แต่นานไปจะดีขึ้นเรื่อยๆ | |
ไฟ | ดิน | อยู่ด้วยกันดี แต่ต้องแยกจากกันก่อนแล้วกลับมาอยู่ด้วยกันใหม่จึงจะดี | |
ไฟ | ไม้ | มีปากเสียง หาเรื่องทะเลาะกันเป็นประจำ เพราะอีกฝ่ายเป็นคนใจร้อน | |
ไฟ | เหล็ก | อยู่ด้วยกันไปจะลำบากเรื่องการเงิน เก็บเงินไม่ค่อยอยู่ จะมีปัญหาเรื่องเงินๆ ทองๆ | |
เหล็ก | เหล็ก | ดีนักจะอยู่เย็นเป็นสุข | |
เหล็ก | น้ำ | เป็นคู่ที่เหมาะสมกันยิ่งนัก จะมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข | |
เหล็ก | ดิน | อยู่ด้วยกันดีนักจะมีทรัพย์สมบัติ ช่วยเหลือกันและสามารถตั้งตัวได้ | |
เหล็ก | ไม้ | อยู่ด้วยกันดี จะมีหน้าที่การงานที่ดี หากทำราชการก็จะได้ยศตำแหน่งสูง มีเกียรติในสังคม | |
เหล็ก | ไฟ | ไม่ค่อยดีนัก มีแต่หาเรื่องทะเลาะวิวาทกัน ถึงกับลงไม้ลงมือกันเป็นประจำ เพราะใจร้อน | |
มะแม | มะโรง | คนที่เป็นธาตุทองจะอยู่กับธาตุไหนก็ได้ ดีทั้งสิ้นครับ |